หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นกเลิฟเบริด์

การเลือกซื้อนกเลิฟเบิร์ด

ใครที่กำลังคิดอยากเลี้ยงนกสวยงาม นกเลิฟเบิร์ด ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสน ในกรณีที่เลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ก่อนจะเลือกซื้อควรรู้จักสายพันธุ์อย่างกว้างๆ กล่าวคือ นกเลิฟเบิร์ดมี 2 สายพันธุ์ แบบขอบตาและไม่มีขอบตา สำหรับอุปนิสัยทั่วไปของนกเลิฟเบิร์ดจะชอบอยู่เป็นคู่ ร่าเริง สดใส ส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้วตลอดเวลา

         
ดังนั้น สถานที่เลี้ยง ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรหลีกเลี่ยงที่ที่มีลมโกรกรุนแรง หรือแดดจัดเกินไป ฝนสาดเข้ามาโดนได้ แล้วล้อมรอบด้วยมุ้งลวดอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันยุงและแมลง และควรระวังศัตรูธรรมชาติของนก เช่น แมว หรือหนูด้วยการล้อมรอบโรงเรือนด้วยตาข่าย ภายในโรงเรือนควรติดสปริงเกิลเพื่อความเย็นสบายของนกและกระเบื้องมุงหลังคาควรสลับกับกระเบื้องแผ่นใสเพื่อให้โรงเรือนมีแสงส่องสว่างด้วย


อายุของนกที่เหมาะสมในการซื้อมาเลี้ยง

ควร จะเลือกนกที่อายุยังน้อย ประมาณ 3 - 4 เดือน เนื่องจากนกที่มีอายุมาก มักจะก่อให้เกิดปัญหา หลาย ๆอย่าง เช่น มีความก้าวร้าว เมื่อนำมารวมกับตัวอื่นก็มักจะจิกตีกัน ส่วนอีกข้อคือ นกที่เจ้าของเก่าปลดทิ้ง เนื่องจากแก่เกินไป นกมีปัญหา ก็จะอยู่กับเราได้ไม่นาน

 
โรคที่มักจะพบ ได้แก่


1. โรคหวัด เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน นกจะซึม ขนพอง ไม่กินอาหาร ไม่ร่าเริง


2. โรคตาแข็ง ตาแดง มีหลายสาเหตุ คือ

- ยุงเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่นก

- ฝุ่นละออง มาจากถาดรองมูลนก เวลานกบิน ฝุ่นจะเข้าตาได้ ทำให้เกิดอาการ ระคายเคือง จนตาแดง ตาเจ็บได้



3. การรักษา ไม่ว่านกจะมีอาการหรือเป็นโรคอะไรที่ผิดปกติ ผู้เลี้ยงควรแยกนกออกจากโรงเรือนโดยด่วน จากนั้นก็แยกไว้ตัวเดียว และทำการรักษา โดยให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะอาการนั้น


4. เกร็ดอื่น ๆ เมื่อจำเป็นต้องนำนกใหม่เข้ากรง อย่าได้นำเข้าภายในโรงเรือนด็ดขาด ควรแยกไว้ต่างหากเพื่อดูอาการ ให้ยาฆ่าเชื้อโดยผสมในน้ำให้นกกิน แล้วเลี้ยงตามปกติ เพื่อดูอาการสัก 15 วัน ถ้านกปกติดี แข็งแรง ร่าเริง ก็สามารถเอาเข้าโรงเรือนได้

นก LOVEBIRDS สามารถเลี้ยงและฝึกให้ฉลาดได้ โดยต้องเลี้ยงตั้งแต่ นกอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ใช้เวลาอยู่กับนกของเรามาก ๆ ป้อนอาหาร 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น

และ ในแต่ละมื้อ เวลาให้อาหาร ให้นำนกไปวางไว้ในระยะห่างจากตัวเราสักเล็กน้อย แล้วเคาะเรียกหรือผิวปากเรียก เมื่อนกเดินมาหาค่อยป้อนอาหาร ทำเช่นนี้ทุกมื้อ ทุกวัน จนนกเคยชิน และเพื่มระยะห่างเรื่อย ๆ เมื่อนกโต ขนขึ้นเต็ม นกจะบินมาหาแทนการเดิน เมื่อนกบินคงที่ ไม่ว่าเวลาไหนเมื่อผู้เลี้ยงผิวปาก หรือเคาะนกจะบินมาทางผู้เลี้ยงทันที




วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นกเเก้วมาคอล

นกเเก้วมาคอร์




นกแก้วมาคอว์

นกแก้วมาคอว์ถือเป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในแม็กซิโกและอเมริกาใต้ มีสีสันสวยงาม มีเสียงร้องที่ดังมากจงอยปากจะใหญ่เป็นพิเศษ เหนือปากด้านบนจะมีสีขาวเส้นเล็กๆคาดระหว่างปากกับหัว บนหัวมีขนสีเขียวสดและสีฟ้า ดวงตามีขนเป็นลายเส้นดำ 4-5 เส้น ขนบริเวณคอจนถึงหน้าอกเป็นสีเหลืองเข้มและขนหางมีสีแดงสด ขาสั้นใหญ่ แข็งแรง ขนที่ปีกบางทีก็เป็นสีฟ้าและสีเหลืองหรือสีเขียวเหลือง ขนาดของนกมาคอว์มีขนาดตั้งแต่ 32 นิ้ว-35 นิ้ว
สำหรับอาหารของมาคอว์ชอบกินอาหารจำพวกผลไม้ทั่วๆไปและเมล็ดธัญพืช ชอบอยู่กันเป็นฝูง รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ส่งเสียงดัง
ในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่กัน แบบคู่ใครคู่มันและไปสร้างรังตามต้นไม้ใหญ่เพื่อวางไข่ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 30-35 วัน ขนของลูกนกจะขึ้นหลังจาก 3 สัปดาห์และขึ้นจนเต็มตัวและมีสีสันสวยงาม ลูกนกจะแข็งแรงเต็มที่เมื่ออายุสามเดือน ในระหว่างที่ยังเล็กต้องอาศัยอาหารจากแม่นกที่นำมาป้อน โดยจะใช้ปากจิกกินอาหารจากปากแม่ของมัน จนกระทั่งลูกนกสามารถช่วยตนเองได้และในที่สุดมันก็จะบินและหาอาหารเองโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ของมัน
มาคอว์จัดเป็นนกที่สามารถฝึกให้เชื่อง เป็นนกที่มีความจำดีและมีความพยาบาทรุงแรง ดุร้ายน่ากลัวมากเท่ากับความอ่อนโยนอ่อนน้อมน่ารักชวนให้ปราณีของมัน โดยอุปนิสัยแล้วมาคอว์เป็นนกที่ชอบสะอาด หากผู้เลี้ยงอาบน้ำให้มันเป็นประจำ มาคอว์จะมีความสุขมาก ดังนั้นผู้เลี้ยงควรใช้น้ำจากฝักบัวรดให้นกได้อาบน้ำบ่อยครั้ง ในฤดูฝนควรอาบน้ำให้ในกลางแจ้ง เพื่อให้นกได้อาบน้ำฝนบ้าง แล้วควรนำนกมาไว้ในที่มีแดดอ่อนๆและอากาศบริสุทธิ์
มาคอว์เป็นนกที่ไม่ชอบอยู่โดดเดี่ยวเช่นเดียวกับนกแก้วชนิดอื่นๆ มาคอว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจะสนิทสนมกับผู้เลี้ยงอย่างสนิทสนม หากผู้เลี้ยงห่างเหินนกมาคอว์จะโศรกเศร้าแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นคนที่เลี้ยงนกมาคอว์ควรจะให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด





วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นกซันคอนัวร์

นกคอนัวร์ (Conure)   
        
  นกคอนัวร์ (Conure) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ นกแก้ว ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบละตินอเมริกา จากเม็กซิโกลงมาถึงหมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว โดย นกคอนัวร์ เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่
         ทั้งนี้ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) นกคอนัวร์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga (อาราทิงก้า) นกคอนัวร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Pyrrhura

          Aratinga จะมีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ได้แก่ สายพันธุ์ ซันคอนัวร์(Sun conure) บลูคราวน์(Blue-crowned conure) เจนเดย์(Jenday conure)

          Pyrrhura จะมีสีสันที่เข้มขึ้น เช่น สีเขียวแก่ น้ำตาลเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่าง Pyrrhura ได้แก่ สายพันธุ์ แบล็คแค็พ (Black-capped conure) เพ้นท์เท็ด (Painted conure)


นกคอนัวร์



นกคอนัวร์


นกคอนัวร์ (Conure)

   
        
  นกคอนัวร์ (Conure) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ นกแก้ว ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบละตินอเมริกา จากเม็กซิโกลงมาถึงหมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว โดย นกคอนัวร์ เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่
         ทั้งนี้ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) นกคอนัวร์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga (อาราทิงก้า) นกคอนัวร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Pyrrhura

          Aratinga จะมีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ได้แก่ สายพันธุ์ ซันคอนัวร์(Sun conure) บลูคราวน์(Blue-crowned conure) เจนเดย์(Jenday conure)

          Pyrrhura จะมีสีสันที่เข้มขึ้น เช่น สีเขียวแก่ น้ำตาลเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่าง Pyrrhura ได้แก่ สายพันธุ์ แบล็คแค็พ (Black-capped conure) เพ้นท์เท็ด (Painted conure)

         
ก่อนที่เราจะเลี้ยงเจ้า นกคอนัวร์ เรามารู้จักนิสัยบางอย่างของมันกันดีกว่า อุปนิสัยของ นกคอนัวร์ ที่พบบ่อย

นกคอนัวร์

          นิสัยเรียกร้องความสนใจ เมื่อ นกคอนัวร์ รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วในตอนเช้าเมื่อคุณตื่นแล้วคุณอาจได้ยินเสียงพองขน เล่นของเล่น หรือเสียงบ่นเบาๆ มาจากกรงของเจ้าคอนัวร์

          การอาบน้ำ นกคอนัวร์ รักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราควรอาบให้นกตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขนแห้งได้ทันเวลาที่นกจะเข้านอน

          การขบฟัน นกคอนัวร์ จะขบฟันช่วงที่มันใกล้จะหลับ การขบฟันในนกถือเป็นเรื่องธรรมชาติของนก

          การเช็ดปาก หลังมื้ออาหารทุกมื้อ นกคอนัวร์ จะเช็ดปากของมันกับคอนที่มันเกาะ หรือแขนเสื้อของคุณขณะที่มันเกาะอยู่

           กายกรรมแบบนก ๆ กิริยาที่ นกคอนัวร์ ทำคล้ายกับการบิดขี้เกียจ ยืดแข้งยืดขา ซึ่งถือเป็นปกติธรรมดาของนก

          การกัด เป็นการแสดงสัญชาตญาณการอยู่ร่วมกันของ นกคอนัวร์ ที่อาศัยอยู่ในป่า การกัดของมันตามลำพังแสดงว่ามันกำลังทดสอบสิ่งรอบ ๆ ตัวของมันอยู่

          การนอนกลางวัน การนอนกลางวันเป็นการงีบหลับ นกคอนัวร์ จะงีบหลับไปบ้าง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่อไปทางเจ็บป่วย ก็ไม่ต้องกังวลกับการงีบหลับของนก

          การเคี้ยว นกคอนัวร์ ชอบที่จะขบเคี้ยว กัดแทะ สิ่งต่างๆรอบตัวเสมอ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องมีของเล่นให้นกได้เคี้ยวตลอดเวลา


นกคอนัวร์
 การจ้องมองของนก เมื่อ นกคอนัวร์ เห็นอะไรที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นหรือสนใจ รูม่านตาของมันจะเบิกกว้างและหดตัวขึ้นและลง

           การพองขน เป็นการคลายความตึงเครียดของ นกคอนัวร์ แต่ถ้ามันพองขนตลอดเวลานั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่านกกำลังเจ็บป่วย

          การไซร้ขนให้กันและกัน เป็นนิสัยของ นกคอนัวร์ ที่จะทำให้คู่ของมันหรือเพื่อนนกที่สนิทกันเท่านั้น

          การจับคู่ นกจะจับคู่กันไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือไม่ มันจะไซร้ขนให้กัน เลียนแบบท่าทางของคู่มันตลอดเวลา

          ความรู้สึกเป็นเจ้าของ จะแสดงออกถึงการหวงเจ้าของมัน มันมักจะกัด และ ขู่ตัวอื่น

          การไซร้ขน เป็นกิจวัตรประจำของมันซึ่งจะทำร่วมกับการพองขน และมีการจิกขนตัวเองในช่วงนี้สำหรับฤดูผลัดขน

          การสำรอกอาหาร กิริยาของนกที่จ้องบางอย่างแล้วขณะเดียวกันก็ผงกหัวด้วย นั้นคือมันจะสำรอกอาหารให้กับคู่หรือลูกของมัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรักอันยิ่งใหญ่

          การยืนพักขาเดียว การที่นกยืนขาเดียวถือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าคุณเห็นนกยืน 2 ขา ตลอดเวลา คุณควรจะนำนกไปหาสัตวแพทย์เพราะอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณของสุขภาพที่ไม่แข็งแรง

          การกรีดร้อง นกคอนัวร์ จัดว่าเป็นนกที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกรู้สึกว่ามันถูกทอดทิ้งและเจ้าของไม่มีเวลาให้นกจะยิ่งส่งเสียงร้อง บางครั้ง นกคอนัวร์ ก็ถือเป็นนกขี้เหงาและต้องการให้เจ้าของให้ความมั่นใจกับมันว่ามันไม่ได้อยู่ตัวเดียว นกคอนัวร์จะร้องส่งเสียงเพื่อที่จะดูว่าคนในบ้านไปไหนกันหมดทิ้งมันไว้ตัวเดียวหรือเปล่า เจ้าของสามารถให้ความมั่นใจกับนกได้โดยการขานรับ บางขณะนกจะร้องเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อมทำให้มันตกใจกลัว ในกรณีนี้คุณจำเป็นต้องใช้เวลากับนกและลดความกลัวในตัวนกลง นกจะส่งเสียงกรีดร้องตามสัญชาติญาณเพื่อปกป้องฝูงของมันด้วย เมื่อนกรู้สึกเหนื่อยจะมีอาการหงุดหงิด และบางครั้งจะส่งเสียงร้องกรณีนี้เราควรจะคลุมกรงของมัน เพื่อให้มันสงบลงและปรับตัวเพื่อจะเข้านอนเร็วขึ้น